กฎหมายชาวบ้าน ให้คำปรึกษากฎหมาย ฟรี กฎหมายชาวบ้าน
ปรึกษากฎหมาย และคดีความ
เกี่ยวกับเรา ติดต่อเรา งานรับว่าความ ปรึกษากฎหมายทางอีเมล์ เว็บบอร์ดสอบถามกฎหมาย
สำนักงาน เอนก ทนายความ เบอร์โทรศัพท์ : 086 055 0569 เว็บไซต์ : www.chawbanlaw.com Email : chawbanlaw@gmail.com
เว็บไซต์ที่น่าสนใจ สำนักงาน ศาลยุติธรรม ศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ สภาทนายความ ราชกิจจานุเบกษา ห้องสมุดกฎหมาย กรมบังคับคดี กรมศุลกากร ห้องสมุด ศาลยุติธรรม เนติบัณฑิตสภา กรมสรรพากร ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ สภาผู้แทนราษฎร ศาลแพ่ง รัชดา สำนักงานอัยการสูงสุด กรมสรรพสามิต ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ วุฒิสภา ศาลอาญา รัชดาฯ ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ศาลยุติธรรม สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ สำนักงานประกันสังคม กรมราชทัณฑ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมที่ดิน ศาลอาญากรุงเทพใต้ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง สำนักงาน ป.ป.ส. กระทรวงยุติธรรม กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ศาลแรงงานกลาง ศาลล้มละลายกลาง ศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงาน ศาลปกครอง ศาลภาษีอากรกลาง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรมธนารักษ์ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สำนักงานคุ้มครองพยาน - กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ สำนักงาน กสทช ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ศาลแพ่งตลิ่งชัน ศาลแพ่งพระโขนง ศาลจังหวัดสมุทรปราการ กรมการขนส่งทางบก กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิด เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กลับหน้า ประมวลกฎหมายอาญาทหาร กลับหน้าแรก ประมวลกฎหมายอาญาทหาร ภาค 1 ว่าด้วยข้อบังคับต่าง ๆ ประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา 1 ให้เรียกพระราชบัญญัตินี้ว่า “ประมวลกฎหมายอาญาทหาร” ประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา 2 ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้เป็นกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน รัตนโกสินทรศก 131 เป็นต้นไป ประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา 3 ตั้งแต่วันที่ใช้กฎหมายนี้สืบไป ให้ยกเลิก (1) กฎหมายลักษณะขบถศึก (2) ข้อความในพระราชกำหนดกฎหมาย และกฎข้อบังคับอื่น ๆ ซึ่งเกี่ยวกับบรรดาความผิด ที่ กฎหมายนี้บัญญัติว่าต้องมีโทษ ประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา 4 ในกฎหมายนี้ คำว่า “ทหาร” หมายความว่า บุคคลที่อยู่ในอำนาจกฎหมายฝ่ายทหาร คำว่า “เจ้าพนักงาน” ที่ใช้ในประมวลกฎหมายลักษณะอาญานั้น ท่านหมายความตลอดถึงบรรดา นายทหารบกนายทหารเรือ ชั้นสัญญาบัตรและชั้นประทวนที่อยู่ในกองประจำการนั้นด้วย คำว่า “ราชศัตรู” นั้น ท่านหมายความตลอดถึงบรรดาคนมีอาวุธที่แสดงความขัดแย้งต่ออำนาจผู้ใหญ่ หรือที่เป็นกบฏหรือเป็นโจรสลัดหรือที่ก่อการจลาจล คำว่า “ต่อหน้าราชศัตรู” นั้น ท่านหมายความตลอดถึงที่อยู่ในเขตซึ่งกองทัพได้กระทำสงครามนั้น ด้วย คำว่า “คำสั่ง” นั้น ท่านหมายความว่า บรรดาข้อความที่ผู้ซึ่งบังคับบัญชาทหารผู้ถืออำนาจอันสมควร เป็นผู้สั่งไปโดยสมควรแก่กาลสมัยและชอบด้วยพระราชกำหนดกฎหมาย คำสั่งเช่นนี้ท่านว่าเมื่อผู้รับคำสั่งนั้นได้ กระทำตามแล้ว ก็เป็นอันหมดเขตของการที่สั่งนั้น คำว่า “ข้อบังคับ” นั้น ท่านหมายความว่า บรรดาข้อบังคับและกฎต่าง ๆ ที่ให้ใช้อยู่เสมอ ซึ่งผู้ซึ่ง บังคับบัญชาทหารผู้ถืออำนาจอันสมควรได้ออกไว้โดยสมควรแก่กาลสมัย และชอบด้วยพระราชกำหนดกฎหมาย ประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา 5 ทหารคนใดกระทำความผิดอย่างใด ๆ นอกจากที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาทหารนี้ ท่านว่า มันควรรับอาญาตามลักษณะพระราชกำหนดกฎหมาย ถ้ากฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้ให้เป็นอย่างอื่น ประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา 5 ทวิ บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร ผู้ใดกระทำความผิดตาม ประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นนอกราชอาณาจักร จะต้องรับโทษในราชอาณาจักร ในกรณีที่มิใช่ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 107 ถึงมาตรา 129 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ถ้าได้มีคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศอันถึงที่สุดให้ปล่อยตัวผู้นั้น หรือ ศาลในต่างประเทศพิพากษาให้ลงโทษและผู้นั้นได้พ้นโทษแล้ว ห้ามมิให้ลงโทษผู้นั้นในราชอาณาจักรเพราะ การกระทำนั้นอีก แต่ถ้าผู้นั้นยังไม่พ้นโทษ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือจะไม่ลงโทษเลย ก็ได้ ประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา 6 ผู้ใดต้องคำพิพากษาศาลทหารให้ลงอาชญาประหารชีวิต ท่านให้เอาไปยิงเสียให้ตาย ประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา 7 ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร มีอำนาจลงทัณฑ์แก่ทหารผู้กระทำความผิดต่อ วินัยทหารตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร ไม่ว่าเป็นการกระทำความผิดในหรือนอกราชอาณาจักร ประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา 8 การกระทำความผิดอย่างใด ๆ ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 21 มาตรา 23 มาตรา 24 มาตรา 27 มาตรา 28 มาตรา 29 มาตรา 30 มาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 37 มาตรา 39 มาตรา 41 มาตรา 42 มาตรา 43 มาตรา 44 มาตรา 46 และมาตรา 47 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าผู้มีอำนาจบังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร พิจารณาเห็นว่าเป็นการ เล็กน้อยไม่สำคัญให้ถือว่าเป็นความผิดต่อวินัยทหาร และให้มีอำนาจลงทัณฑ์ตามมาตรา 7 เว้นแต่ผู้มีอำนาจ แต่งตั้งตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารจะสั่งให้ส่งตัวผู้กระทำความผิดไปดำเนินคดีในศาลทหาร หรือจะมีการดำเนินคดีนั้นในศาลพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร จึงให้เป็นไปตามนั้น ประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา 9 ความที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 ให้ใช้ตลอดถึงความผิดลหุโทษ และความผิดที่เปรียบเทียบได้ตาม กฎหมาย ประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา 10 บรรดาบทในพระราชกำหนดกฎหมาย ที่ท่านกำหนดแต่โทษปรับสถานเดียว ถ้าจำเลยเป็นทหารซึ่งไม่ ใช่ชั้นสัญญาบัตรหรือชั้นประทวน ท่านว่าถ้าศาลวินิจฉัยเห็นสมควรจะให้จำเลยรับโทษจำคุกแทนค่าปรับตาม ลักษณะที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่งประมวลกฎหมายลักษณะอาญานั้นก็ได้ ประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา 11 ความผิดฐานลหุโทษก็ดี ความผิดอันต้องด้วยโทษจำคุกไม่เกินกว่าเดือนหนึ่ง หรือปรับไม่เกินกว่าร้อย บาท หรือทั้งจำทั้งปรับเช่นนั้นเป็นโทษที่หนักก็ดี ถ้าจำเลยเป็นทหาร ท่านให้ศาลวินิจฉัยตามเหตุการณ์ ถ้าเห็น สมควรจะเปลี่ยนให้เป็นโทษขังไม่เกินกว่าสามเดือนก็ได้ ประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา 12 เมื่อศาลทหาร พิพากษาเด็ดขาดให้ลงโทษแก่ทหารคนใด ท่านว่าให้ผู้ซึ่งบังคับบัญชาทหารผู้มีอำนาจ สั่งให้ลงโทษตามคำพิพากษานั้นวินิจฉัยตามเหตุการณ์ ถ้าเห็นสมควรจะสั่งให้อ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังต่อ หน้าประชุมทหารหมู่หนึ่งหมู่ใด ตามที่เห็นสมควรก็ได้