กฎหมายชาวบ้าน ให้คำปรึกษากฎหมาย ฟรี กฎหมายชาวบ้าน
ปรึกษากฎหมาย และคดีความ
สำนักงาน เอนก ทนายความ เบอร์โทรศัพท์ : 086 055 0569 เว็บไซต์ : www.chawbanlaw.com Email : chawbanlaw@gmail.com
เว็บไซต์ที่น่าสนใจ สำนักงาน ศาลยุติธรรม ศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ สภาทนายความ ราชกิจจานุเบกษา ห้องสมุดกฎหมาย กรมบังคับคดี กรมศุลกากร ห้องสมุด ศาลยุติธรรม เนติบัณฑิตสภา กรมสรรพากร ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ สภาผู้แทนราษฎร ศาลแพ่ง รัชดา สำนักงานอัยการสูงสุด กรมสรรพสามิต ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ วุฒิสภา บรรพ 1 หลักทั่วไป ลักษณะ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 กฎหมายนั้น ต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใด ๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษร หรือตาม ความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้น ๆ เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีต ประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มี ด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 คำว่า “เหตุสุดวิสัย” หมายความว่า เหตุใด ๆ อันจะเกิดขึ้นก็ดี จะให้ผลพิบัติก็ดี เป็นเหตุที่ไม่อาจ ป้องกันได้แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้นจะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาด หมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 เมื่อมีกิจการอันใดซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ บุคคลผู้จะต้องทำหนังสือไม่จำเป็นต้องเขียนเอง แต่หนังสือนั้นต้องลงลายมือชื่อของบุคคลนั้น ลายพิมพ์นิ้วมือ แกงได ตราประทับ หรือเครื่องหมายอื่นทำนองเช่นว่านั้นที่ทำลงในเอกสารแทน การลงลายมือชื่อ หากมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคนแล้วให้ถือเสมอกับลงลายมือชื่อ ความในวรรคสองไม่ใช้บังคับแก่การลงลายพิมพ์นิ้วมือ แกงได ตราประทับ หรือเครื่องหมายอื่นทำ นองเช่นว่านั้น ซึ่งทำลงในเอกสารที่ทำต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 10 เมื่อความข้อใดข้อหนึ่งในเอกสารอาจตีความได้สองนัย นัยไหนจะทำให้เป็นผลบังคับได้ ให้ถือเอา ตามนัยนั้นดีกว่าที่จะถือเอานัยที่ไร้ผล ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 ในกรณีที่มีข้อสงสัย ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12 ในกรณีที่จำนวนเงินหรือปริมาณในเอกสารแสดงไว้ทั้งตัวอักษรและตัวเลข ถ้าตัวอักษรกับตัวเลขไม่ตรง กัน และมิอาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้ ให้ถือเอาจำนวนเงินหรือปริมาณที่เป็นตัวอักษรเป็นประมาณ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 13 ถ้าจำนวนเงินหรือปริมาณในเอกสารแสดงไว้เป็นตัวอักษรหลายแห่งหรือเป็นตัวเลขหลายแห่ง แต่ที่แสดง ไว้หลายแห่งนั้นไม่ตรงกัน และมิอาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้ ให้ถือเอาจำนวนเงินหรือปริมาณน้อยที่สุด เป็นประมาณ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 14 ในกรณีที่เอกสารทำขึ้นไว้หลายภาษา ไม่ว่าจะเป็นฉบับเดียวกันหรือหลายฉบับก็ตามโดยมีภาษาไทย ด้วย ถ้าข้อความในหลายภาษานั้นแตกต่างกัน และมิอาจหยั่งทราบเจตนาของคู่กรณีได้ว่าจะใช้ภาษาใดบังคับ ให้ถือตามภาษาไทย กลับหน้า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กลับหน้าแรก
เกี่ยวกับเรา ติดต่อเรา ว่าจ้างทนายความ ปรึกษากฎหมายทางอีเมล์ ปรึกษากฎหมายทาง Facebook